โรคทุเรียน

ทุเรียนเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย มีแนวโน้มทางการตลาดที่ดี แต่การปลูกทุเรียน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะทุเรียน เป็นพืชที่พบปัญหา ศัตรูพืชและโรค หลายหลายชนิด โรคที่เกิดในทุเรียน ส่วนมากมาจากเชื้อรา ซึ่งการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ โวก้า ซึ่งมี สารแอคทีฟซิลิคอน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติ ในปริมาณสูง สามารถช่วยลดและป้องกันโรคจากเชื้อราได้ดีอยู่แล้ว แต่หากยังพบอีก ก็สามารถทำการรักษาโดยใช้สารเคมี หรือ ชีวภัณฑ์ เช่น ซุปเปอร์โวก้าโปร คีโตพลัส ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แอคทีฟซิลิคอน เสริมคีโตเมียม ทูอินวัน บทความนี้ กล่าวถึงโรคที่พบได้ทั่วไปในทุเรียน

โรคใบจุด (Leaf Spot)

เกิดจากเชื้อราหลายชนิด โดย หากเป็นเชื้อ  Colletotrichum sp. ซึ่งทำให้เกิดโรคแอนแทรคโนส  ใบอ่อนจะมีสีซีดคล้ายโดนน้ำร้อนลวก ส่วนขยายพันธุ์เป็นจุดดำ ๆ  ส่วนใบแก่เป็นจุดกลมขอบแผลสีเข้ม และมีการขยายขนาด ส่วนเชื้อรา Phomopsis sp. ทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายบริเวณใบแก่ มีขนาดจำกัด

โรคใบจุดแอนแทรคโนส
โรคใบจุดแอนแทรคโนส
โรคใบจุด (Phomopsis sp.) โรคใบจุด (Phyllosticta sp.)
โรคใบจุด (Phomopsis sp.) โรคใบจุด (Phyllosticta sp.)

เชื้อรา Phyllosticta sp.  ทำให้เนื้อเยื่อตายบริเวณปลายใบ  และมักมีเชื้อรา Pestalotiopsis sp. ปะปนเล็กน้อย

เชื้อรา Pseudocercospora sp  ทำให้เนื้อตายเป็นจุดเหลี่ยม ๆ เล็ก ๆ กระจัดกระจายบนใบ และใต้ใบมีกลุ่มสปอร์สีดำ  ทำให้ใบร่วงรุนแรงได้

โรคใบจุด (Pseudocercospora sp.) ด้านหน้าใบและหลังใบ
โรคใบจุด (Pseudocercospora sp.) ด้านหน้าใบและหลังใบ

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • กรณีใช้สารเคมี : ฉีดพ่นทุเรียนระยะใบอ่อน ด้วย สารกลุ่ม mancozeb ผสมกับกลุ่ม benzimidazole  เช่น benomyl หรือ carbendazim
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคมีและชึวภัณฑ์

โรคราสีชมพู (Pink disease)

เกิดจากเชื้อรา Erythricium Salmonicolor  กิ่งมีลักษณะคราบสีขาวแกมชมพูแห้งแข็งบนผิวเปลือก  เมื่อใช้มีดถากเปลือกบริเวณที่เป็น จะพบเนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม

โรคราสีชมพูบนกิ่งทุเรียน

การป้องกันกำจัด

  • ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ตัดกิ่งเป็นโรคเผาทำลาย
  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • กรณีใช้สารเคมี : ฉีดสารกลุ่ม mancozeb และ copper oxychloride
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ สารเคมี และชีวภัณฑ์ 
  • ควบคุมเชื้อราในดินโดย ผสม คีโตพลัส 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วทรงพุ่ม

โรคแอนแทรคโนส (Anthracnose)

เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum Zibethinum  ทำลายช่อดอกในระยะช่อบาน ทำให้ดอกมีสีคล้ำ เน่าดำก่อนบาน มีราสีเทาดำปกคลุมเกสร กลีบดอก ทำให้ดอกแห้ง ร่วงหล่น

ช่อดอกทุเรียน ถูกทำลายโดยแอนแทรคโนส
ช่อดอกทุเรียน ถูกทำลายโดยแอนแทรคโนส

การป้องกันกำจัด

  • ตัดแต่งพุ่มให้โปร่ง
  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • กรณีใช้สารเคมี : ฉีดพ่นด้วย mancozeb ผสมหรือสลับกับ carbendazim
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ และ สารเคมี

โรคราแป้ง (Powdery mildew)

เกิดจากเชื้อรา Oidium sp.  มักแพร่ระบาดในช่วงที่อากาศแห้งและเย็น เข้าทำลายในระยะดอกบานและติดผลอ่อน เชื้อรามีสีขาวคล้ายฝุ่นแป้ง ปกคลุมกลีบดอกและผลอ่อน ทำให้แลดูขาวโพลน ต่อมาดอกและผลอ่อนจะร่วง  ส่วนผลที่พัฒนาโตขึ้น จะมีเชื้อราสีขาวปกคลุมบาง ๆ อาจทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ทำให้ผลผิวหยาบไม่สวย  รสชาติอาจเปลี่ยนแปลง  และมีเปลือกหนา

ราแป้งบนผลทุเรียน
การป้องกันกำจัด
  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • ฉีดพ่นด้วย  กำมะถันผง หรือ triadimefon ซึ่งใช้ได้ผลดีกับราแป้ง  ควรฉีดสลับกับ mancozeb หรือ carbendazim เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนส
  • ฉีดพ่นด้วย ผลิตภัณฑ์ ซุปเปอร์โวก้าโปร คีโตพลัส ในช่วงเย็น (ห้ามใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา ร่วมกับ คีโตพลัส)
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ สารเคมี และชีวภัณฑ์
ข้อควรระวัง :  ทุเรียน ระยะผลอ่อน มักมี เพลี้ยไก่แจ้ทำลาย ซึ่งแมลงชนิดนี้จะสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมผิวทุเรียน  ซึ่งอาจดูคล้าย ราแป้ง

โรคโคนเน่า รากเน่า ผลเน่า และแคงเคอร์ที่กิ่ง

เกิดจากเชื้อรา Phytophthora palmivora  โดยเชื้อราจะเข้าทำลายระบบราก และโคนต้น  ปรากฎจุดฉ่ำน้ำ และมักมีน้ำเยิ้มออกมา  เมื่อใช้มีดถากดูจะพบว่ามีน้ำไหลทะลักออกมา  เนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม   หากอาการเน่าลุกลาม จะทำให้ใบร่วง โดยเริ่มจากปลายกิ่ง  ในที่อากาศชื้น  เชื้อราสามารถแพร่ทางลม เข้าทำลายกิ่งและผลได้    โดยมักพบเชื้อรา  Lasiodiplodia sp. ร่วมด้วยเสมอ

โรคโคนเน่า ตามลำต้นทุเรียน
โรคโคนเน่า ตามลำต้นทุเรียน
ทุเรียนใบร่วง จากโรครากเน่าโคนเน่า
เชื้อ Phytophthora บนใบทุเรียน
เชื้อ Phytophthora บนใบทุเรียน
ผลทุเรียน โดน Phytophthora ทำลาย
ผลทุเรียน โดน Phytophthora ทำลาย

การป้องกันกำจัด

  • หากพบแผลบริเวณลำต้น ให้ ลอกเปลือกบริเวณที่เป็นแผลออก นำสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า หรือ คีโตพลัส ผสมน้ำให้เป็นโคลน ทาบริเวณที่เป็นแผล
  • ควบคุมเชื้อราในดินโดย  ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และ ผสม คีโตพลัส 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วทรงพุ่ม
  • ส่วนเปลือกไม้ กิ่งและผลที่เน่าให้เผาทำลายทิ้ง

โรคใบติด ใบไหม้ ใบร่วง (Leaf blight, leaf fall)

เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia solani  ลักษณะอาการใบจะไหม้ แห้ง และติดกันเป็นกระจุก   และร่วงจำนวนมาก  ใบติดกันด้วยเส้นใยของเชื้อรา ใบคล้ายถูกน้ำร้อนลวก สีซีด ขอบแผลสีเขียวเข้ม

โรคใบติด ในทุเรียน
โรคใบติด ในทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่าย ในทุเรียน
โรคใบจุดสาหร่าย ในทุเรียน
การป้องกันกำจัด
  • รวมรวมเศษใบที่ร่วงเผาทำลาย กำจัดวัชพืช
  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • กรณีใช้สารเคมี : ฉีดพ่นด้วย copper oxychloride หรือ mancozeb
  • ฉีดพ่นด้วย ซุปเปอร์โวก้าโปรคีโตพลัส (ห้ามใช้สารเคมีกำจัดเชื้อรา ร่วมกับ คีโตพลัส)
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ สารเคมี และชีวภัณฑ์
  • ควบคุมเชื้อราในดิน โดยผสม คีโตพลัส 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร รดรอบทรงพุ่มเพื่อควบคุมเชื้อรา
โรคใบจุดสนิม จุดสาหร่าย เกิดจากสาหร่าย Cephaleuros virescens  Kunze พบ ในใบแก่  ลักษณะเป็นจุดฟูเสีเขียวแกมเหลือง  ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้ม ซึ่งเป็นระยะที่สาหร่ายสร้างสปอร์ เพื่อใช้ในการแพร่ระบาด การป้องกันกำจัด
  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • กรณีใช้สารเคมี : ฉีดพ่นด้วย Copper oxychloride
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ สารเคมี และชีวภัณฑ์

โรคราดำ (Sooty mold)

เกิดจาก เชื้อรา Meliola durionis Hans S.  เข้าทำลายที่ผลทุเรียน ทำให้ผลมีสีดำเป็นปื้น โดยเฉพาะบริเวณไหล่ผล และร่องผล ทำให้มีราคาต่ำ  แพร่ระบาดโดย เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง หรือเพลี้ยไก่แจ้

ราดำ บนผลทุเรียน
ราดำ บนผลทุเรียน

การป้องกันกำจัด

  • ฉีดพ่นด้วย คีโตแม็กซ์ ผสมกับ ไบโอการ์ด ในอัตรา 20-40cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน ฉีดทั้งผิวใบ และใต้ใบ
  • กรณีใช้สารเคมี : ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง ร่วมกับสารป้องกันเชื้อรา เช่น Copper oxychloride
  • เติมสารซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า 1 ช้อนโต๊ะ ในถังฉีด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ สารเคมี และชีวภัณฑ์

เอกสารอ้างอิง

โรคทุเรียน  โดย รศ.นิพนธ์ วิสารทานนท์  ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์