กาแฟ พืชดาวรุ่ง มาแรง

การปลูกกาแฟ

ในปัจจุบันต้องยอมรับว่า กาแฟ เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมของคนทั่วโลก ประเทศไทยก็เช่นกัน  โดยปัจจุบัน ข้อมูลเมื่อปี 2562 คนไทยบริโภคกาแฟ เฉลี่ย 300 แก้ว/คน/ปี  และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยธุรกิจกาแฟ มีมูลค่า 37,000-38,000 ล้านบาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

ในประเทศไทย ยังถือว่า ยังมีผู้ปลูกกาแฟไม่มาก เมื่อเทียบกับประเทศ เวียดนาม หรืออินโดนีเซีย ข้อดีของกาแฟคือ  เป็นพืชทนแล้ง แต่ต้องการน้ำบ้างในช่วงให้ผลผลิต  ผลผลิตก็สามารถเก็บไว้ได้นานไม่ต้องรีบขายเหมือนกับพืชผัก หรือไม้ผลบางชนิด และยัง สามารถปลูกร่วมกับไม้ผล หรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นได้  ซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงกรณีพืชหลักราคาตกต่ำ และเป็นการใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า

กาแฟที่เราบริโภค หลัก ๆ มาจาก พืชตระกูลกาแฟ 2 ขนิด คือ Coffia Arabica หรือที่เราเรียกกันว่า กาแฟอราบิก้า (Arabica) กับ Coffia Canephora หรือที่เราเรียกันว่า กาแฟ โรบัสต้า (Robusta) นั่นเอง  โดยข้อแตกต่างระหว่าง กาแฟอราบิก้า กับ โรบัสต้า มีดังนี้

ความสูงและอุณหภูมิของแหล่งปลูก

  • อราบิก้าต้องการอากาศเย็น อุณหภูมิที่เหมาะสมคือประมาณ 15-24 องศาเซลเซียส แหล่งปลูก ต้องมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 600-2000 เมตร
  • โรบัสต้า ทนอากาศร้อนได้ดี อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 18-36 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ในที่ราบจนถึงที่สูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ความทนทานต่อโรคแมลง

  • กาแฟอราบิก้า จะอ่อนแอต่อโรคแมลง และสภาพอากาศ ที่ไม่เหมาะสม มากกว่า โรบัสต้า  เนื่องจากปริมาณคาเฟอีนที่มากกว่า ทำให้กาแฟโรบัสต้า ทนต่อโรคแมลงได้ดีกว่า

ลักษณะเมล็ดกาแฟ

  • ลักษณะเมล็ดกาแฟอราบิก้า จะยาวรี ส่วนโรบัสต้า จะออกกลมมากกว่าดังรูป
เมล็ดกาแฟ อราบิก้า โรบัสต้า
ลักษณะเมล็ดกาแฟ อราบิก้า VS โรบัสต้า

รสชาติ

  •  รสชาติของกาแฟอราบิก้า จะมีความหลากหลายมากกว่าโรบัสต้า  โดยจะมีตั้งแต่รส หวาน อ่อนละมุน จนถึงเปรี้ยว และแหลม  มีกลิ่นและรสที่ละเอียดล้ำลึก มีปริมาณกรดที่แตกต่างกัน ซึ่งแปรเปลี่ยนไปตามแหล่งปลูก  โดยกลิ่นรส มีตั้งแต่ คล้าย ผลไม้ รสหวาน ถั่ว ช็อกโกแล็ต หรือแม้แต่ ไวน์   อราบิก้า จะมีปริมาณน้ำตาล มากกว่า โรบัสต้า ถึง 2 เท่า และมีปริมาณกรดน้อยกว่า 
  • กาแฟโรบัสต้า จะมีรสชาติไม่หลากหลายเทา อราบิก้า กลิ่นรส จะเข้ม ดุดัน คล้ายไม้ไหม้ และขม เนื่องจากมีปริมาณคาแฟอีน สูงกว่า

ปัจจุบัน กาแฟที่ปลูกทั่วโลกจะเป็นสายพันธุ์อราบิก้า ประมาณ 60% และโรบัสต้า ประมาณ 40% โดย ทวีปอเมริก้าใต้เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ประมาณ 50% ของผลผลิตทั้งหมด ในแถบเอเชีย มีผลผลิตประมาณ 30% โดยมี  อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ ส่วนไทย นั้นมีผลผลิต เพียง 1% ของอาเซียนเท่านั้น  โดยในประเทศไทย นั้น เกือบ 70% ของกาแฟจะปลูกในจังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และ  นครศร๊ธรรมราช โดยเป็นสายพันธุ์โรบัสต้า  และส่วนที่เหลือ ปลูกตามที่สูงทางภาคเหนือ เป็นสายพันธุ์อราบิก้า 

การปลูกกาแฟโรบัสต้า

พื้นที่ปลูก

พื้นที่เหมาะกับกาแฟโรบัสต้า  ควรเป็นที่ราบ หรือมีความลาดชันน้อย

  • มีความสูงไม่เกิน 700 เมตรจากระดับน้ำทะเล
  • อุณหภูมิเฉลี่ย 20-30 องศาเซลเซียส
  • ควรมีแหล่งชลประทาน หากไม่มีระบบชลประทาน ควร ปริมาณฝนไม่น้อยกว่า 1500 mm ต่อปี และมีการกระจายตัวของผนไม่น้อยกว่า 7 เดือน
  • ไม่มีน้ำท่วมขัง
  • ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย หน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 50
  • ความเป็นกรด/ด่าง (pH) ของดิน 5.5-6
สายพันธุ์กาแฟโรบัสต้า
  • ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยพืชสวนขุมพร ได้พัฒนาสายพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ออกจำหน่ายให้แก่เกษตรกรหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่แนะนำคือ ชุมพร 2, ชุมพร 84-4, ชุมพร 84-5  โดยแต่ละสายพันธุ์มีคุณสมบัติแสดงดังตาราง
 ชุมพร 2ชุมพร 84-4ขุมพร 84-5
ผลผลิตเฉลี่ย (กก/ไร่/ปี)350482428
น้ำหนัก 100 เมล็ด (กรัม)16.215.517
รสชาติ (cup test)7.27.27.2
ปริมาณเนื้อสารกาแฟ (%)57.3754.4955.55
ปริมาณคาเฟอีน (%)2.442.242.18
%เมล็ดแห้ง ต่อผลสด22.324.525
อายุการเก็บเกี่ยว (เดือน)1110-1110-11
กาแฟพันธุ์-ชุมพร2
กาแฟพันธุ์ ชุมพร 2
กาแฟพันธุ์-ชุมพร84-4
กาแฟพันธุ์ ชุมพร84-4
กาแฟพันธุ์-ชุมพร84-5
กาแฟพันธุ์ ชุมพร 84-5
วิธีการปลูก
  • ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน
  • ปักหลักไม้เพื่อป้องกันลมพัด
  • ควรให้น้ำต่อเนื่องหลังปลูก 2-3 สัปดาห์หากไม่มีฝนตก
  • สามารถปลูกเป็นพืชเดี่ยวหรือปลูกร่วมกับสวนผลไม้ เช่นมะพร้าว  ทุเรียน กล้วย  หรือพืชอื่น ๆ ได้
  • กรณีปลูกกลางแจ้ง ควรทำร่มเงาให้ต้นกล้า 
  • การปลูกควรปลูกอย่างน้อย 3 สายพันธุ์ในแปลงเดียวกันโดยปลูกสลับแถวกันไป
  • กรณีปลูกเป็นพืชเดี่ยว ปลูก 170 ต้น/ไร่ หรือระยะ 3×3 เมตร 
  • กรณีปลูกร่วมกับไม้ผล เช่นทุเรียน (ระยะปลูก 8×8) ควรปลูกห่างจากต้นทุเรียน ไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพราะเมื่อทรงพุ่มกาแฟโตขึ้น จะได้มีพื้นที่ในการเก็บเกี่ยวผลผลิตรอบต้นกาแฟ
  • กรณีปลูกไม้ยืนต้นอื่นแซม  ควรปลูกพืชให้ร่มเงาก่อนปลูกกาแฟ 6-12 เดือน สะตอ ใช้ระยะปลูก 15×15 เมตร แค 12×12 เมตร กระถิน 9×9 เมตร
การให้ปุ๋ย
  • ปีแรก-ปีที่2  ใส่ปุ๋ยซิลิคอนโวก้า 0.3-.-0.5 กิโลกรัมต่อต้น ทุก 1-3 เดือน
  • เมื่อให้ผลผลิตแล้ว (ปีที่ 3 ขึ้นไป)
เดือนปุ๋ยที่ใช้อัตราต่อต้น
เมย-พคปุ๋ยซิลิคอนโวก้า0.5kg
กค46-0-060 กรัม
0-0-6060 กรัม
กย46-0-060 กรัม
0-0-6060 กรัม
ธค46-0-060 กรัม
0-0-6060 กรัม
ปุ๋ยซิลิคอนโวก้า1-3kg
การให้น้ำ

สวนกาแฟส่วนใหญ่จะอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ซึ่งพื้นที่ปลูกควรมีปริมาณฝน มากกว่า 1,200-1,500 มิลลิเมตร ต่อปี และมีการกระจายของฝนไม่น้อยกว่า 7 เดือน

หากเป็นพื้นที่ที่ขาดน้ำ ควรมีการให้น้ำกาแฟ โดยพิจารณาตามความต้องการน้ำของกาแฟ

  • ช่วงดอกตูม  ดอกกาแฟจะพัฒนาจากเซล เล็กๆ กลายเป็นกลุ่มดอก และ กลุ่มดอกเหล่านี้ จะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนโตเต็มที่ ก็จะหยุดการเจริญ เรียกว่า อยู่ในช่วงพักตัว ซึ่งมีระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 5-6 สัปดาห์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่กาแฟ “ไม่ต้องการน้ำ”  ซึ่งหลังจากการพักตัวเต็มที่แล้ว เมื่อได้น้ำ  ก็จะบานพร้อมกัน
  • ช่วงดอกพักตัวสมบูรณ์พร้อมจะออกจากการพักตัว  หลังจากผ่านช่วงแล้ง ดอกพักตัวสมบูรณ์แล้ว  เมื่อได้ปริมาณน้ำที่เพียงพอ ดอกจะเจริญเติบโต มีขนาดใหญ่ขึ้นจนเห็นเป็นดอกสีขาว ช่วงนี้ควรให้น้ำอย่างเพียงพอ เพื่อให้ตอกบานได้พร้อมกันทั้งแปลง หากน้ำไม่เพียงพอ ดอกอาจจะบานไม่พร้อมกัน และ อาจจะเหี่ยว ฝ่อ และไม่มีการติดผล
  • ช่วงดอกบาน  ดอกกาแฟมักจะบานภายใน 7-10 วัน หลังจากได้น้ำในระยะที่ 2 แล้ว ช่วงนี้ควรงดน้ำ เนื่องจากเป็นช่วงที่ดอกกาแฟจะผสมเกสรระหว่างต้น  หากเกสรตัวผู้โดนละอองน้ำ จะหลุดออก ไม่สามารถปลิวไปผสมเกสรกับต้นอื่นได้  ทำให้ติดผลน้อยและผลผลิตตกต่ำ
  • ช่วงเริ่มติดผล  หลังจากดอกได้มีการผสมเกสรแล้ว ก็จะติดผลขนาดเล็กเป็นกลุ่มจำนวนมาก  ช่วงนี้ หากฝนทิ้งช่วง ต้องมีการให้น้ำเพื่อให้ดินมีความชื่นเพียงพอ  เพื่อป้องกันผลฝ่อ และร่วงหลุดจากต้น
  • ช่วงที่ผลขยายตัวอย่างรวดเร็ว  ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลขยายตัวอย่างรวดเร็วและสะสมน้ำหนักแห้ง (ประมาณ 3-4 เดือนหลังดอกบาน)  เป็นช่วงสำคัญที่สุดที่ต้นกาแฟ ไม่ควรขาดน้ำ  ผลจะขยายตัวจากขนาดเม็ดพริกไทย และโตขึ้นเรื่อย ๆ  ผลจะสร้างเนื้อเยื่อรอบๆ เมล็ด และช่องว่างเพื่อให้เมล็ดเจริญต่อมาภายหลัง  ช่วงนี้หากกาแฟขาดน้ำ เนื้อเยื่อและช่องว่างสำหรับเมล็ด จะเล็ก ทำให้ได้เมล็ดกาแฟขนาดเล็ก ผลผลิตตกต่ำ จึงจำเป็นต้องให้น้ำ หากฝนทิ้งช่วง
การตัดแต่งกิ่ง
  • หลังปลูกในปีแรก กาแฟ จะแตกกิ่งย่อย ๆ จากกิ่งหลัก ให้เลือกกิ่งที่แตกใหม่ เก็บไว้ 3-5 กิ่ง รวมทั้งกิ่งหลักด้วย
  • กิ่งที่เลือกเก็บไว้ 3-5 กิ่ง ควรมีการกระจายตัว ไม่เบียดชิดกัน
  • เมื่อกิ่งหลักโตเต็มที่แล้ว ควรหมั่นปลิดกิ่งแขนง ที่แตกออกจากกิ่งหลักทุก ๆ 3-4 เดือน
  • เมื่อกิ่งหลักให้ผลผลิตไปแล้ว 7-9 ปี ผลผลิตจะเริ่มลดลง ให้ตัดกิ่งหลักที่ไม่สมบูรณ์ออก ปีละ 1 กิ่ง พร้อมทั้งเลี้ยงกิ่งทดแทน 1 กิ่งเช่นกัน
  • ทำซ้ำทุกปี เมื่อทำครบ 4-5 กิ่งหลัก ก็จะได้กิ่งหลักใหม่ที่ให้ผลผลิตสูงเช่นเดิม
  • เมื่อต้นกาแฟอายุมาก จนผลผลิตลดลง ไม่คุ้มค่า ให้ทำการตัดฟื้นต้นใหม่
ตัดแต่งกิ่งกาแฟ
เหลือกิ่งหลักไว้ 3-5 กิ่ง
ตัดกิ่งแขนงที่แตกออกจากกิ่งหลัก
ตัดแต่งกิ่งกาแฟ
เลี้ยงกิ่งแขนงใหม่ และตัดกิ่งแขนงเก่าที่ไม่สมบูรณ์ออก
ตัดแต่งกิ่งกาแฟ
ทำปีละ 1 กิ่ง ครบ 4-5 ปี ก็จะได้กิ่งใหม่ทั้งหมด
การตัดฟื้นต้น
  • บางครั้งเมื่อต้นกาแฟอายุมาก  และผลผลิตที่เหลืออยู่น้อยมากจนไม่คุ้มค่า แทนที่เราจะตัดกิ่งหลักออกทีละกิ่งเราอาจพิจารณาตัดกิ่งหลักออกทั้งหมดเลยก็ได้ เราเรียกวิธีนี้ว่า การตัดฟื้นต้น  มีข้อควรพิจารณาคือ
  • ผลผลิตน้อยไม่คุ้มกับต้นทุน
  • ต้นมีความสูงมากจนเก็บเกี่ยวลำบาก
  • ต้นกาแฟมีอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป
  • ต้นหรือกิ่งได้รับความเสียหายมาก
  • ควรทำต้นฤดูฝนเพื่อป้องกันการแห้งตายของตอ

การตัดฟื้นต้นมีวิธีการตัด 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1

  • ตัดกิ่งหลักออกทั้งหมดให้เหลือแต่ตอ สูงจากพื้นดิน 50 ซม. โดยหน้าตัดให้เอียงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้น้ำขัง
  • นำซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้า ผสมน้ำเป็นโคลน แล้วทาตรงรอยตัดเพื่อป้องกันโรคเข้าสู่แผล
  • เมื่อกิ่งใหม่แตกออกมายาว ประมาณ 10 ซม. ให้ปลิดออกจนเหลือประมาณ 3-5 กิ่ง เพื่อเป็นกิ่งหลักต่อไป

วิธีที่ 2

  • ทำเหมือนวิธีแรก แต่ให้เหลือกิ่งหลักเก่าไว้หนึ่งกิ่ง เป็นกิ่งพี่เลี้ยง เพื่อประกันว่าต้นจะไม่ตาย
  • เหมาะสำหรับต้นโทรม ไม่แข็งแรง หรือพื้นที่แห้งแล้ง
  • หากกิ่งพี่เลี้ยงบังแดดกิ่งใหม่ให้โน้มกิ่งพี่เลี้ยงออก เพื่อให้กิ่งใหม่รับแสงได้ดี
  • ตัดกิ่งพี่เลี้ยงออกเมื่อกิ่งใหม่โตได้ที่แล้ว

 

ตัดฟื้นต้นกาแฟ
ตัดกิ่งหลักทั้งหมดให้สูงจากพื้น 50 cm ทารอยตัดด้วยซุปเปอร์ซิลิคอนโวก้าเพื่อป้องกันโรค
ตัดฟื้นต้นกาแฟ
เมื่อกิ่งแคกใหม่ยาวประมาณ 10 ซม ให้ปลิดออกจนเหลือประมาณ 3-5 กิ่งเพื่อเป็นกิ่งหลักต่อไป
ตัดฟื้นต้นกาแฟ
การตัดฟื้นต้นโดยให้เหลือกิ่งพี่เลี้ยงไว้ 1 กิ่ง
ตัดฟื้นต้นกาแฟ
เมื่อกิ่งใหม่แตกดีแล้ว ให้ตัดกิ่งพี่เลี้ยงออก และปลิดกิ่งใหม่ให้เหลือ 3-5 กิ่งเพื่อเป็นกิ่งหลักต่อไป
ตัดแต่งกิ่งกาแฟ
การตัดแต่งกิ่งหลัก ควรตัดให้เรียบ และเอียงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง
ตัดแต่งกิ่งกาแฟ
ตอที่มีน้ำขังจะทำให้ตอผุ และต้นกาแฟเสียหายได้
โรคกาแฟ
• โรคราสนิม
  • สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อรา  Hemileia Vastatrix
  • ลักษณะอาการ : จุดเหลืองใต้ใบขยายเป็นวงกว้าง มีสปอร์สีส้มทำให้ใบร่วงและกิ่งแห้ง
  •  การทำลาย : จะทำให้ต้นกาแฟ ทิ้งใบแก่และใบอ่อนในระยะต้นกล้าและต้นโตเต็มวัย
  • การป้องกัน : 
    1) เลือกสายพันธุ์ที่ต้านทานโรค หลีกเลี่ยงการใช้กาแฟโรบัสต้าใบเล็ก เรียวยาว
    2) ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันเชื้อรา คีโตพลัส  โดยเน้นการฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผิวใบและใต้ใบ
โรคราสนิม
โรคราสนิม
• โรคใบไหม้สีน้ำตาล
โรคใบไหม้สีน้ำตาล
โรคใบไหม้สีน้ำตาล
  • สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อรา  Cercospora sp.
  • ลักษณะอาการ : จุดกลมสีน้ำตาลและขยายใหญ่ขึ้น แผลจะเห็นอาการเนื้อเยื่อตายมีสีน้ำตาลไหม้ เมื่อแผลแต่จะจุดขยายมารวมกันจะแสดงอาการเหมือนใบใหม้
  •  การทำลาย : พบเห็นในช่วงอากาศแห้งแล้งติดต่อกันเป็นเวลานาน  หรือพืชได้รับเชื้อราผ่านทางบาดแผล
  • การป้องกัน : 
    1) ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค และผ่าทำลาย
    2) ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันเชื้อรา คีโตพลัส  โดยเน้นการฉีดพ่นให้ทั่วทั้งผิวใบและใต้ใบ
• โรคผลเน่า
  • สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อรา  Colletotrichum sp.
  • ลักษณะอาการ : จุดสีน้ำตาลเข้มบนผลกาแฟด้านใดด้านหนึ่ง กลางแผลขยายใหญ่ติดกัน รูปร่างไม่แน่นอน ทำให้เนื้อเยื่อผลยุบและเปลี่ยนเป็นสีดำแห้งติดอยู่บนต้น
  •  การทำลาย :  เชื้อราเข้าทำลายทั้งผลอ่อนและผลแก่ มักพบในต้นที่ให้ผลผลิตมาก ๆ
  • การป้องกัน : 
  • 1) เก็บผล และตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค และผ่าทำลาย
    2) หลังตัดแต่งกิ่งและผล ที่เป็นโรคออกแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยซิลิคอนโวก้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นกาแฟ
    3) ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันเชื้อรา คีโตพลัส  
โรคผลเน่า
โรคผลเน่า
• โรคกิ่งแห้ง
  • สาเหตุ :  เกิดจากเชื้อรา
  • ลักษณะอาการ : มีรอยใหม้บนกิ่งสีเขียว ข้อและปล้องของต้นมีสีเหลืองซีด ใบเหลือง และร่วงในเวลาต่อมา  กิ่งจะเหี่ยวและแห้ง ตาดอกเหี่ยว
  •  การทำลาย :  มักเกิดเมื่อมีสภาพแห้งแล้งเป็นเวลานาน หรือเมื่อพืชอ่อนแอจากสาเหตุอื่น ๆ ทำให้เชื้อเข้าทำลายได้
  • การป้องกัน :
  • 1) ตัดแต่งกิ่งที่เป็นโรค และผ่าทำลาย
    2) ใส่ปุ๋ยซิลิคอนโวก้า เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นกาแฟ
    3) ให้ร่มเงากับพืช  และรักษาความชื้นของดินให้กับพืช
    4) ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันเชื้อรา คีโตพลัส
โรคกิ่งแห้ง
โรคกิ่งแห้ง
แมลงศัตรูกาแฟ
• หนอนเจาะต้นกาแฟสีแดง
    • ความเสียหาย :  เกิดกับต้นและกิ่งกาแฟทั้งต้นเล็ก และต้นที่ให้ผลผลิตแล้ว
    • การทำลาย : เจาะต้นและกิ่งจนหักโค่นล้ม
    •  การป้องกัน :
      1) ทำลายพืชอาศัยรอบบริเวณกาแฟ
      2) หมั่นรักษาความสะอาดและตรวจดูต้นกาแฟสม่ำเสมอ
      3) ตัดกิ่งที่ถูกทำลายเผาทิ้ง ลดการระบาดของแมลง
หนอนเจาะต้นกาแฟสีแดง
หนอนเจาะต้นกาแฟสีแดง
• มอดเจาะกิ่งกาแฟ
มอดเจาะกิ่งกาแฟ
มอดเจาะกิ่งกาแฟ
  • ความเสียหาย : เกิดความเสียหายกับกิ่งกาแฟที่ให้ผลผลิต โดยกิ่งจะแห้งตายเป็นสาเหตุให้โรคเข้าทำลายในเวลาต่อมา
  • การทำลาย : ตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปอาศัยขยายพันธุ์และเจริญเติบโตอยู่ภายในกิ่งกาแฟ ทำให้ต้นกาแฟอ่อนแอ ผลผลิตลดลง
  •  การป้องกัน :
    1) ตัดแต่งกิ่งที่ถูกทำลายเผาทิ้ง
    2) บำรุงต้นกาแฟให้แข็งแรง โดยใส่ปุ๋ยซิลิคอนโวก้าอย่างสม่ำเสมอ
• มอดเจาะผลกาแฟ
    • ความเสียหาย : ก่อความเสียหายกับผลกาแฟ และเป็นเหตุให้เชื้อราเข้าทำลายในระยะเวลาต่อมา
    • การทำลาย : ตัวเต็มวัยจะเจาะเข้าไปอาศัยขยายพันธุ์ กัดกินเนื้อเยื่อเมล็ดกาแฟเป็นอาหาร ทำให้เมล็ดกาแฟเสียหาย
    •  การป้องกัน :
      1) เก็บผลผลิตในระยะเวลาและฤดูกาลที่ถูกต้อง
      2) เก็บผลผลิตกาแฟให้หมดไม่เหลือคาต้นหรือหล่นคาพื้นดิน
      3) ตัดแต่งกิ่งกาแฟให้โปร่ง และเก็บเกี่ยวสะดวก
      4) เผาทำลายผลกาแฟที่ถูกเจาะทำลาย
      5) ทำกับดักล่อมอดทั้งในแปลง และโรงเก็บผลกาแฟแห้งโดยใช้เมทิลแอลกอฮอล์ และเอธิลแอลกอฮอล์ อัตรา 1:1
มอดเจาะผลกาแฟ
มอดเจาะผลกาแฟ
• เพลี้ยแป้ง
    • ความเสียหาย : กาแฟแสดงอาหารใบเหลืองและร่วง  ผลผลิตกาแฟพัฒนาไม่สมบูรณ์และเกิดเชื้อราตามมา
    • การทำลาย : ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ใบแก่ ส่วนอ่อนของกิ่งกาแฟ และหากพบในระยะติดผล จะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ผลพัฒนาไม่สมบูรณ์
    •  การป้องกัน :
      ฉีดพ่น คีโตแม็กซ์ เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้ง อัตรา 20cc ต่อน้ำ 20 ลิตร
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้ง
เพลี้ยแป้ง
การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
• ระยะเวลาการเก็บเกี่ยว
ผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวได้
ผลกาแฟที่เก็บเกี่ยวได้
  • เก็บผลกาแฟที่มีสีแดง สีเหลือง หรือสีส้มแดง ไม่น้อยกว่า 90% ของผล
  • ไม่เก็บผลอ่อนที่มีสีเขียว ผลร่วง หรือผลที่สุกเกินไป
• อุปกรณ์การเก็บเกี่ยว
  • ตาข่ายสีฟ้า หรือ กระสอบปุ๋ยที่ตัดเป็นแผ่น ขนาด 2×2 เมตร หรือ 1.5×1.5 เมตร สำหรับรองรับผลที่เก็บแล้ว
  • ตะขอเกี่ยวกิ่ง ที่สูง เพื่อโน้มกิ่งให้ต่ำลงเพื่อให้เก็บผลได้ง่ายขึ้น
ตะขอเกี่ยวกิ่งกาแฟ
ตะขอเกี่ยวกิ่งกาแฟ
• วิธีการเก็บ
  • เก็บเป็นรุ่น ไม่เก็บผลกาแฟสุกที่ร่วงบนพื้นดินเกิน 1 วัน เนื่องจากอาจปนเปื้อนเชื้อรา
  • การเก็บรอบสุดท้าย ต้องเก็บผลกาแฟให้หมดต้น เพื่อป้องกันมอดเจาะผลกาแฟที่อาศัยข้ามปี
  • ใช้วัสดุรองพื้นดินบริเวณต้นกาแฟขณะทำการเก็บ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนกับเมล็ดกาแฟเก่าที่หล่นใต้ต้น
  • ภาชนะบรรจุผลกาแฟที่เก็บได้ ต้องสะอาด
  • นำผลกาแฟที่เก็บได้เข้าสู่ขบวนการทำให้แห้ง ภายใน 24 ชั่วโมง
• การตากแห้ง
  • คัดแยกผลสดเมล็ดกาแฟที่สมบูรณ์ออกจากผลกาแฟที่ไม่สมบูรณ์หรือผลเสียหายโดยวิธีการลอยน้ำ โดยเมล็ดที่ลอยคือเมล็ดที่ไม่สมบูรณ์ให้คัดออก
  • ตากผลกาแฟบนพื้นที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทดี และได้รับแสงแดดตลอดทั้งวัน
  • ควรเกลี่ยผลกาแฟที่ตากให้มีความหนาไม่เกิน 5 cm และพลิกกลับผลเมล็ดกาแฟอย่างสม่ำเสมอ วันละ 4 ครั้ง
ผลลอยน้ำคือผลที่ไม่สมบูรณ์
ผลลอยน้ำคือผลที่ไม่สมบูรณ์
ผลกาแฟที่สมบูรณ์
ผลกาแฟที่สมบูรณ์
การตากผลกาแฟบนลานดิน
การตากผลกาแฟบนลานดิน
การตากผลกาแฟบนแคร่ไม้ไผ่
การตากผลกาแฟบนแคร่ไม้ไผ่
การตากผลกาแฟบนลานซีเมนต์
การตากผลกาแฟบนลานซีเมนต์
การกลับกองกาแฟ
การกลับกองกาแฟ
  • หลังตากได้ 5-7 วัน ระวังไม่ให้ผลกาแฟเปียกฝน หรือน้ำค้าง โดยการคลุมกองกาแฟในเวลากลางคืน
  • ผลกาแฟจะแห้งได้ที่ เมื่อได้รับแสงแดดเต็มที่ประมาณ 15 วัน
  • เก็บผลกาแฟแห้งในภาชนะที่สะอาด
การคลุมกาแฟที่ตากไว้ในเวลากลางคืนหรือขณะฝนตก
การคลุมกาแฟที่ตากไว้ในเวลากลางคืนหรือขณะฝนตก
เก็บผลกาแฟแห้งในกระสอบที่สะอาด
เก็บผลกาแฟแห้งในกระสอบที่สะอาด
• การสีผลกาแฟแห้ง
  • ใช้เครื่องสีผลกาแฟแห้งที่มีคุณภาพดี เมื่อสีผลกาแฟแล้ว จะได้เมล็ดกาแฟ พร้อมจำหน่าย หากเกษตกรไม่มีเครื่องสี อาจจะใช้บริการของรถรับจ้างสีกาแฟตามไร่ ก็ได้ (หากมี)
เครื่องสีกาแฟ
เครื่องสีกาแฟ
รถรับจ้างสีกาแฟตามไร่ของเกษตรกร
รถรับจ้างสีกาแฟตามไร่ของเกษตรกร
• การเก็บรักษาเมล็ดกาแฟ
  • บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุเมล็ดกาแฟ ต้องสะอาดปราศจากกลิ่น
  • เก็บในโรงเรือนที่สะอาด ยกพื้นสูงเพื่อป้องกันความชื้น
เก็บเมล็ดกาแฟในกระสอบป่านยกสูงจากพื้น
เก็บเมล็ดกาแฟในกระสอบป่านยกสูงจากพื้น
มาตรฐานคุณภาพเมล็ดกาแฟ
• ความชื้น
  • ความชื้นไม่เกินร้อยละ 13 สำหรับเมล็ดกาแฟที่ไม่ต้องเก็บรักษาหรือขนส่งเป็นระยะเวลาไม่นาน
  • ความชื้นไม่เกินร้อยละ 12.5 สำหรับเมล็ดกาแฟที่ต้องเก็บรักษา หรือขนส่งเป็นระยะเวลานาน
• ข้อบกพร่องของเมล็ดกาแฟ
ข้อบกพร่อง
สัดส่วนโดยน้ำหนัก (%)
เมล็ดดำ2
เมล็ดขึ้นรา0.5
เมล็ดแตก2
เมล็ดถูกแมลงทำลาย4
ผลกาแฟแห้ง0.5
สิ่งแปลกปลอม0.5
ข้อบกพร่องรวม7
• รายละเอียดข้อบกพร่อง
ข้อบกพร่อง
ความหมาย
สิ่งแปลกปลอมสิ่งเจือปนทางกายภาพอื่น ๆ ที่ไม่ใช้เมล็ดกาแฟ เช่นเศษหิน ดิน เศษไม้ รวมทั้งเปลือกและเยื่อหุ้มเมล็ดกาแฟ
เมล็ดดำเมล็ดที่มีสีดำภายใน และ/หรือ ภายนอกเมล็ดมากกว่าครึ่งหนึ่งของเมล็ด
เมล็ดแตกเมล็ดกาแฟที่แตกออกเป็นชิ้นเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของกาแฟเต็มเมล็ด
เมล็ดมอดเจาะหรือที่ถูกแมลงทำลายเมล็ดกาแฟที่ถูกแมลงกัด แทะ หรือเจาะจนเกิดเป็นรู มากกว่า 1 รู
เมล็ดที่ขึ้นราเมล็ดกาแฟที่มีลักษณะการเข้าทำลายของเชื้อราที่ผิวเมล็ด
ผลกาแฟแห้งผลกาแฟที่ผ่านกรรมวิธีการทำให้แห้งจนได้ผลกาแฟแห้งที่ยังไม่ได้สีเปลือกออก รวมทั้งเมล็ดกาแฟที่มีเปลือกติดบางส่วน
ข้อบกพร่องรวมปริมาณโดยน้ำหนักของข้อบกพร่องทั้งหมดข้างต้นรวมกัน
ข้อบกพร่องต่างๆของเมล็ดกาแฟ
ข้อบกพร่องต่างๆของเมล็ดกาแฟ

ข้อมูลอ้างอิง

https://www.bangkokbanksme.com/en/organic-coffee-market

https://www.cubicocoffee.com/blog/arabica-vs-robusta-which-one-is-better