การทดลองใช้สารโวก้ากับพืชฤดูแล้ง (ข้าวโพด)

โดย นายเจริญ พิมพ์ขาล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 6ว สำนักงานเกษตรจังหวัดลพบุรี และกลุ่มผู้ใช้น้ำคลอง 18 ขวา ตำบลโคกกะเทียม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ตำบลโคกกะเทียม

  • ตำบลโคกกะเทียมมีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตชลประทาน เกษตรกรมีอาชีพทำนาเป็นหลัก ภายใน 2 ปี มีการทำนาถึง 5 ครั้ง
  • ดินเป็นดินเหนียวจัด (heavy clay soil) มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากการตรวจวิเคราะห์พบว่าดินมี pH 7.35 OM 1.24% P 44.05 ppm. K 481.38 ppm. S 16.85 ppm.
  • โครงการปรับปรุงระบบการจัดการน้ำ (MWMS) โดยความร่วมมือรัฐบาลไทยและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชฤดูแล้งหลังการทำนาปี ซึ่งเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยและเป็นพืชเสริมรายได้ในหน้าแล้ง
  • ได้นำสารโวก้ามาทดลองใช้กับพืชฤดูแล้ง จากการวิเคราะห์พบว่ามี OM 0.1 % P 34 ppm. K 230 ppm. Ca 8400 ppm. Mg 390 ppm Si. 5667 ppm.ฯลฯ ซึ่งโวก้ามีธาตุอาหารหลัก, รองและอาหารเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นจำนวนมาก

ผลการทดลองใช้สารโวก้ากับข้าวโพดหวาน

• เกษตรกรทั้งหมด 25 รายใช้สารโวก้าจำนวน 3 ราย

• วิธีการปลูก,ใส่ปุ๋ย,ให้น้ำ.ดูแลรักษาเหมือนกันทุกประการคือ 

  • ไถดะ,ไถแปร, ตีโรตารี่ ยกร่อง แล้วจึงหยอดข้าวโพดหวานพันธุ์ ไฮบริกซ์-10 ไร่ละ 1 กิโลกรัม หลังจากนั้นจึงฉีดยาคลุมวัชพืช (อาทราซีน)
  • การให้น้ำ โดยการเปิดน้ำให้ตามร่องทุก 7-10 วันหรือเมื่อดินแห้ง
    o การใส่ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน 1 กระสอบ (50 กิโลกรัม) ผสมกับโวก้า 1 กระสอบ (20 กิโลกรัม) ใช้เมื่อข้าวโพดอายุ 25-30 วัน โดยการโรยตามโคนต้น

การเตรียมดิน

ในสภาพดินนาที่เป็นดินเหนียวจัดต้องทำร่องระบายน้ำด้วย

ไถตะ ไถแปร
ไถตะ ไถแปร
ยกร่อง
ยกร่อง

การปลูกข้าวโพดหวานในนาดินเหนียว ต้องมีการยกร่องเพื่อความสะดวกในการให้น้ำ และป้องกันน้ำท่วม

ยกร่องเพื่อปลูกข้าวโพด
ยกร่องเพื่อปลูกข้าวโพด
เกษตรกรปลูกข้าวโพดบนสันร่อง
เกษตรกรปลูกข้าวโพดบนสันร่อง

ผู้ทดสอบ สาธิตการปลูกข้าวโพดหวาน

การหยอดเมล็ดข้าวโพด 2 แถวบนสันร่อง
การหยอดเมล็ดข้าวโพด 2 แถวบนสันร่อง
การให้น้ำข้าวโพดตามร่อง
การให้น้ำข้าวโพดตามร่อง

การให้น้ำตามร่องทุก 7-10 วัน

ภาพการเจริญเติบโต 30 วันให้หลัง

ให้น้ำข้าวโพด ตามร่องทุก 7-10วัน
ข้าวโพดหวานอายุ 30 วัน
ข้าวโพดหวานอายุ 30 วัน

การเก็บเกี่ยว
o เมื่อข้าวโพดอายุ 73 วันเริ่มเก็บเกี่ยวได้ (ตามคำแนะนำของบริษัท 75 วัน)
o เกษตรกรที่ใช้สารโวก้าได้ผลผลิต 2800 กิโลกรัมต่อไร่
o ขนาดของฝัก 2 ฝักได้ 0.9 กิโลกรัม
o เกษตรกรที่ไม่ได้ใช้สารโวก้าจะได้ผลผลิต 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดฝัก 3 ฝักต่อกิโลกรัม

เปรียบเทียบ
o แปลงที่ใช้สารโวก้า กับ แปลงที่ไม่ได้ใช้สารโวก้า

ข้าวโพดแปลงที่ใช้สารซิลิคอนโวก้า
ข้าวโพดแปลงที่ไม่ได้ใช้ สารซิลิคอนโวก้า
ข้าวโพดแปลงที่ไม่ได้ใช้ สารซิลิคอนโวก้า
เปรียบเทียบแปลงข้าวโพด ที่ใช้และไม่ใช้ สารซิลิคอนโวก้า
เปรียบเทียบแปลงข้าวโพด ที่ใช้และไม่ใช้ สารซิลิคอนโวก้า
ผลผลิตข้าวโพดหวาน
ผลผลิตข้าวโพดหวาน

เปรียบเทียบผลผลิตที่ได้
o เกษตรกรที่ใช้สารโวก้า
– นายชำนาญ ชินบุตร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโคกกะเทียมปลูกข้าวโพดหวาน 1 ไร่ ได้ผลผลิต 2,000 ก.ก.
– นายหริ่ม ใจแก้ว ปลูกข้าวโพดหวาน 1 ไร่ ได้ผลผลิต 2,800 ก.ก. (2 ฝัก ต่อ 1 ก.ก.)
o เกษตรกรที่ไม่ใช้สารโวก้า
– นายเหลี่ยม ปัทมสังข์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลโคกกะเทียมได้ผลผลิต 1,000 ก.ก. ต่อไร่

สรุปผลการทดลอง
• สารโวก้าสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่ข้าวโพดหวานได้ในระดับหนึ่ง ภายใต้สภาวะจำกัดทั้งด้าน ความรู้ความชำนาญของเกษตรกรที่เคยชิน กับการปลูกข้าว ภาวะของน้ำที่ค่อนข้างน้อย อุณหภูมิที่สูงในฤดูแล้ง และช่วงแสงที่ยาวนานในเวลากลางวัน โดยไม่มีเมฆ มาบดบังเหมือนช่วงฤดูฝน
• หากมีการทดลองใช้กับข้าวโพดหวานพันธุ์ไฮบริกซ์-10 ในฤดูปลูกปกติคือฤดูฝนจะเป็นการยืนยันผลของการใช้สารโวก้าได้เป็นอย่างดี