ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ สารซิลิคอนโวก้า

ในช่วง 30ปีที่ผ่านมาประเทศไทยได้มีการนำเอาซิลิคอนมาใช้ประโยชน์ในการผลิตพืชหลายชนิดเช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา ปาล์มน้ำมัน กาแฟ และพืชผัก พอสรุปได้ดังนี้

ข้าว: ข้าวเป็นพืชที่ต้องการซิลิคอนในปริมาณมาก  ซิลิคอนทำให้ต้นข้าวมีระบบรากแข็งแรง สมบูรณ์มีรากจำนวนมาก ต้นข้าวเจริญเติบโตดี แตกกอมาก ต้นไม่ล้ม ใบข้าวตั้งขึ้น สามารถรับแสงแดดได้อย่างทั่วถึง อากาศถ่ายเทดี ช่วยลดการเกิดโรคและลดการสะสมของแมลง ซิลิคอนช่วยให้ใบข้าวมีความเหนียวและแข็งแรง ต้นข้าวทนต่อการเข้าทำลายของแมลง รวงข้าวเมล็ดเต็ม ไม่ลีบ  ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 30-100%

ซิลิคอน กับต้นข้าว

อ้อย: ผลิตภัณฑ์จากซิลิคอน สามารถปรับสภาพดินในแปลงปลูกอ้อยให้ร่วนซุย แก้ดินกรดและป้องกันการเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีส ทำให้อ้อยมีรากยาวขึ้น มีปริมาณรากมาก มีหน่อมาก แตกกอมากขึ้น อ้อยเจริญเติบโตแข็งแรงใบตั้งชัน รับแสงแดดได้มาก จึงไปเพิ่มอัตราการสังเคราะห์แสง ลำเลียงน้ำตาลจากใบไปเก็บสะสมไว้ที่ลำต้นได้มากขึ้นมีความหวานมากขึ้น ผลผลิตเพิ่มอาจถึง 55%

ซิลิคอนช่วยกระตุ้นให้ต้นอ้อยเพิ่มความสามารถในการป้องกันตัวต่อสภาพกดดัน หรือสภาพเค้นที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ป้องกันโรคใบด่าง (leaf fleckle) ราสนิม (sugarcane rust) และไวรัสจุดวงแหวน (sugarcane ringspot) ปุ๋ยซิลิคอน ก่อให้เกิดผลบวกต่อคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมีของดินได้มากกว่าการเติมวัสดุพวกปูน  นอกจากนี้ซิลิคอนยังแก้ปัญหาอ้อยบวชใบเหลือง อ้อยไม่กินปุ๋ย โตช้า ผลผลิตต่ำ ความหวานไม่ดี ให้กลับเป็นอ้อยที่มีคุณภาพสูง

มันสำปะหลัง : ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์จากซิลิคอนต่อการปลูกมันสำปะหลังอย่างหนึ่ง คือ ช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย โปร่งพรุน มันสำปะหลังจึงลงหัวได้สะดวก เก็บเกี่ยวได้ง่าย ช่วยดูดซับปุ๋ย ลดการถูกชะล้าง ปรับค่าความเป็น กรด-ด่าง ไม่ให้สูงเกินไป เพราะมันสำปะหลังไม่ทนต่อสภาพดินด่าง ทำให้รากงอกจากท่อนพันธุ์ได้ง่าย มีรากมาก ต้นมีระบบรากลึก แข็งแรงทนต่อความแห้งแล้งได้นานใบสังเคราะห์แสงได้ดี สร้างอาหารได้มาก ช่วยลำเลียงอาหารจากใบไปสะสมที่รากได้มากขึ้น หัวมันมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำหนักเพิ่มขึ้น เปอร์เซ็นต์แป้งเพิ่มขึ้น ผลผลิตเพิ่มอาจสูงถึง 100% ซิลิคอนที่สะสมอยู่ในชั้นเซลล์ผิว ทำให้มีความแข็งแกร่งสามารถต้านทานต่อการเข้าทำลายของแมลง ไร และโรคได้ดีขึ้น

ซิลิคอน กับ ข้าวโพด

ข้าวโพด : การใช้ผลิตภัณฑ์จากซิลิคอนกับข้าวโพดหวาน ไม่พบโรคโคนเน่า ราสนิม ผลิตผลฝักข้าวโพดมีผิวสวย ไม่มีจุดหรือรอยด่างสีน้ำตาลที่เกิดจากเชื้อรา ขนาดฝักใหญ่ สมบูรณ์ อาจถึง 2 ฝัก/กก. เมล็ดข้าวโพดมีสีเหลือง มันวาวกว่าที่ไม่ได้ใช้แร่ชนิดนี้ ลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยและยาลงได้มาก ผลผลิตเพิ่มขึ้น

ยางพารา : การใช้ซิลิคอนกับยางพารา จะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางในน้ำยางพาราสูงขึ้น ซึ่งปกติเปอร์เซ็นต์เนี้อยางในน้ำยางพาราจะเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 35-37 แต่เมื่อใช้ซิลิคอนผสมปุ๋ยเคมีจะช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์เนื้อยางในน้ำยางพาราเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 40 ทั้งยังทำให้หน้ายางอ่อนนุ่ม หน้ายางไม่ตายนึ่งมีอายุการกรีดได้นาน และยังมีความทนทานต่อโรคไพทอบโทรา (phytoptoera) และทำให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 20-30%

ซิลิคอน กับ ยางพารา

ปาล์มน้ำมัน : ซิลิคอนช่วยทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันและผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้น ปกติในประเทศไทย ผลผลิต เฉลี่ยประมาณ 2.7ตัน/ไร่ แต่การใช้ซิลิคอนในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันสามารถทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 20-30 % เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม (CPO) ซึ่งปกติอยู่ที่ประมาณร้อยละ 17 จะเพิ่มขั้นเป็นประมาณร้อยละ 20 รวมทั้งทำให้ต้นปาล์มมีความต้านทานต่อการเข้าทำลายของหนอนร่าน (หนอนปลอก) ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของปาล์มน้ำมัน

มะพร้าว : ในช่วง 2-5 ปีที่ผ่านมา มีการระบาดของแมลงตำหนาม และหนอนหัวดำ เข้าทำลายพื้นที่ปลูกมะพร้าว โดยเฉพาะที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อเนื่องกันมาอันเนื่องมาจากสภาพความแห้งแล้งของภูมิอากาศแต่ในสวนมะพร้าวที่ใช้ซิลิคอน ไม่พบว่ามีการระบาดของแมลงตำหนามหรือหนอนหัวดำแต่ประการใด และยังสามารถทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นโดยทดลองใช้ที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ มะพร้าวที่ปลูกไว้จำนวน 598 ต้น ทุกๆปีจะเก็บผลผลิตได้เพียง 1,600 กว่าผลและผลผลิตที่เก็บได้จะมีขนาดเล็ก แต่หลังจากใช้ซิลิคอนร่วมด้วยปีต่อมาสามารถเก็บผลผลิตได้มากขึ้นถึง 4,000 ผลและแต่ละผลจะมีขนาดใหญ่ เกรดเอ ทั้งหมด

ซิลิคอน กับ มะพร้าว

พืชผัก : ได้มีการใช้ซิลิคอนในการปลูกผักปลอดสาร ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ปรากฏว่าผักที่ปลูกภายใต้กระบวนการ GAP สามารถทำให้ผลผลิตผักเพิ่มขึ้น มีคุณภาพในการบริโภค และที่สำคัญ สามารถลดการเข้าทำลายของแบคทีเรียซึ่งเป็นปัญหาของการปลูกผัก ทั้งในพื้นที่กลางแจ้งและในโรงเรือน 

อาการขาดซิลิคอนในข้าว ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เล่ย์ แตงกวาและยาสูบ และพืชต่างๆ ทำให้การเจริญเติบโตลดลง พืชที่ขาดซิลิคอนต้องการน้ำมากขึ้น ความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างลดลง เช่น ในแตงกวา มะเขือเทศ ถั่ว และยาสูบ

ใบสำคัญการขึ้นทะเบียนปุ๋ยโวก้าอินทรีย์
จากกรมวิชาการเกษตร

ทะเบียนปุ๋ยโวก้าอินทรีย์

ผลวิเคราะห์ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์

ผลวิเคราะห์ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์